มรดกตกผลึก — จักรพันธุ์ ขวัญมงคล

IMG_20180421_062646210.jpg

มรดกตกผลึก — จักรพันธุ์ ขวัญมงคล / สำนักพิมพ์แซลมอน

ถ้าเปรียบเทียบกับการทำงานของตลกแล้ว คณะมรดกตกผลึกน่าจะเป็นทีมที่มีตัวปูเก่ง ตัวชงแบบขอไปที และตัวตบที่เหมือนชาติก่อนจะเป็นกล้วย เพราะดูเหมือนจะหักมุกที่ปูมาทั้งหมดให้ล้มไม่เป็นท่าเลย

เรายอมรับได้กับเนื้อเรื่องการผสมระหว่างบรรยากาศตลกหมูกระทะที่จับพลัดจับผลูได้มรดกอย่างกับละครหลังข่าว ซึ่งเราคิดว่าปูมาดี มีความตลกด้วยบรรยากาศและการบรรยายที่ทำให้ขำได้

แต่พอหลังจากนั้น เราไม่แน่ใจว่าเพราะการปูที่หยิบเอาสิ่งธรรมดา ที่น่าจะพอเดาได้มาเล่น ทำให้เราคาดหวังอยากได้ยาที่แรงกว่า ประหลาดกว่าหรือเปล่า ซึ่งเลยกลายเป็นว่าเราหลุดจากการชงเหล่านี้ไปเลย และยิ่งการวกกลับมาจบแบบ romanticised ก็รู้สึกเอ่อ อืม ครับ หากเป็นเหมือนคาเฟ่ก็คงจกนมเด็กเสิร์ฟดีกว่า #ผิด

สิ่งที่ทำได้ดีมรดกตกผลึกอาจไม่ได้อยู่ที่บรรยากาศการเล่นตลกคาเฟ่ เราคิดว่ามันคือบรรยากาศแห่งความรุ่งเรืองของตลกยุคนั้น ยุคที่มีการอัดวิดีโอขาย ยุคของการย้ายวิก ซึ่งนั่นทำให้เราหวนนึกถึงบรรยากาศเก่าๆ และสุดท้ายก็มีบางที่สิ่งที่เรายังไม่ได้คำตอบ

ตกลงใครฆ่าบุญเลี้ยง

ไม่สิ จุดจบของสองเจ้าพ่อใหญ่ไม่เป็นเรื่องตลกเลยนี่หว่า

mad about magazine : Don’t

img_20161027_100703

 

ความเห็นเกี่ยวกับ Mad About (ก่อนหน้านี้คือแสดงความเห็นไปถึงคนทำแหละ ก็เลยเอามาโพสต์ลงด้วย)

หนัก ไม่แน่ใจว่ามันมีกระดาษที่แสดงภาพได้ดี และมีน้ำหนักเบาหรือเปล่า คือพอมันหนัก เลยไม่เอื้อต่อบางคอลัมน์เช่นคอลัมน์ที่วางตัวอักษรแนวนอนของคุณอุรุดา ทำให้พลิกอ่านลำบาก เพราะมันหนัก

คอลัมน์ของคุณวินทร์ น่าจะสแกนเศษกระดาษให้คมกว่านี้นะครับ ถ้าเปรียบเทียบจากภาพถ่ายซองจดหมายต้นฉบับของ อาว์รงค์

ระหว่างแอบชมทีมพิสูจน์อักษร ในคอลัมน์ที่พี่ตอบจดหมายกับพี่จุ้ย มีคำว่าเช็กสเปรียร์ ซึ่งไม่แน่ใจว่ายึดมาจากการการพิมพ์ตอบอีเมลช่วงนั้นหรือเปล่า

คอลัมน์เดียวกัน มันมีจังหวะที่อ่านจดหมายพี่จุ้ยแล้วไล่สายตาข้ามมาอ่านจดหมายตอบของพี่เอ๋เลย เพราะมันเรียงคอลัมน์ต่อกัน ไม่รู้ตั้งใจหรือเปล่า เผลออ่านผิดคนไปหลายบรรทัดเลย

————

สิ่งที่ชอบ

  • ชอบสัมภาษณ์ทั้งสามคนเลย น้องปันปัน (แอบขัดใจกราฟิก ขอรูปน้องชัดๆ เต็มๆ ไม่ได้เหรอ ทำกราฟิกแบบถอดหน้ากากเปลือยใจตอบมา เสียดายความขาวครับ)
  • ส่วนบทสัมภาษณ์คุณภิญโญ เราชอบส่วนของชีวิตช่วงก่อนมาทำ open ของเขา เป็นบทสัมภาษณ์ที่ดี
  • ชอบความบ้าพลังของคุณวรพจน์ ที่สัมภาษณ์เรืองรอง รุ่งรัศมี อ่านแล้วก็ขัดใจ ซึ่งเป็นที่ดีที่เขาสามารถถ่ายทอดความคิดให้เรารู้สึกว่าเราขัดใจเขาได้เว้ย

อะไรประมาณนี้

27-09-2559

ไม่ค่อยรู้แง่มุมว่าอาว์’รงค์ มีทัศนคติต่อการเมืองอย่างไร เคยเอาความคิดมาใส่ไว้ในงานบ้างหรือเปล่า แล้วอยากรู้ว่ามีทัศนคติต่อการเมืองในช่วงเวลานั้นๆ อย่างไรบ้าง

อ่านมาดเกี้ยวไปนิดนึงเจอ

“บันทึกไว้ว่าเป็นความหรูหราในบางบุคลิกแห่งยุคหลังการปฏิวัติมิถุนา 2475 การล้มล้างระบบขุนนางราชสำนักเพื่อก่อกำเนิดระบบขุนนางประชาธิปไตย! การกำหนดชนชั้นใหม่ด้วยอำนาจกฏหมายและปืน!”

“การสร้างแบบแผนใหม่ของชีวิตโดยอ้างว่าเพื่อความเปลี่ยนแปลงของราษฎร (ประชาชน) แต่ราษฏร (นักการเมือง) บางฝูงเท่านั้นทรงสิทธิ์เหนือกว่าผู้อื่นในเกือบทุกด้าน รวมทั้งการแสดงว่ายศ – วาสนา – เงิน!…”

“…ความรู้สึกเนรคุณราษฎร (ประชาชน) นี้ฝังลึกอยู่ในหัวใจของชนชั้นผู้ดีใหม่และขุนนางประชาธิปไตย”

สนธิสัญญาฟลามิงโก — จิราภรณ์ วิหวา

IMG_20160611_143636

สนธิสัญญาฟลามิงโก — จิราภรณ์ วิหวา

ก่อนอ่านไม่รู้รายละเอียดอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้มา รู้แค่ว่านี่คือนวนิยายเล่มแรกของจิราภรณ์ วิหวา และถูกดำเนินเรื่องราวทั้งหมดด้วยสัตว์ที่พูดได้

นั่นคือสิ่งที่รู้ก่อนอ่าน

ผ่านไปบทแรกด้วยการดำเนินเรื่องราวของคู่รักชาวแมว การไม่ลงรอยกันตามประสาคู่รักที่มีให้เห็นอยู่บ่อยๆ ก็ยังเดาทิศทางไม่ออกว่าเรื่องราวจะบอกเล่าถึงเรื่องใด

แต่เมื่ออ่านไปสักพัก ก็อดประหวัดมิได้ว่าเรื่องราวที่อ่านมีอะไรซุกซ่อนอยู่ในเรื่องราวฉาบเคลือบนี้ รวมไปถึงเหตุการณ์พานให้อดคิดไม่ได้ว่านี่คือเหตุการณ์ทางสังคมและการเมืองที่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากการรับรู้ของเรา

นั่นทำให้อดคิดไม่ได้อีกว่าสัตว์เหล่านี้คือสมการที่สามารถถอดออกมาได้เป็นตัวของมนุษย์

เรื่องราวของแมวคู่รักชนชั้นกลางที่มีอาชีพเป็นนักสร้างสรรค์ ‘มี’ แมวสาวด้านการสื่อสารด้วยการเขียน และทอนน์ นักสื่อสารด้วยดนตรี ทั้งคู่พบเจอกับความซ้ำซากในชีวิตคู่ ความเบื่อหน่ายของอีกฝ่ายที่ไม่จดจำรายละเอียดเล็กน้อย ซึ่งก็ไม่แปลกใจในนิสัยของผู้หญิง

จนกระทั่งเธอได้พบกับนกฟลามิงโกนักธุรกิจหนุ่ม กับธุรกิจของการสร้างตู้สาธยายความลับ เพื่อแลกกับพลังงาน มีได้เข้ามาพบกับความลับอีกชั้นหนึ่งว่าความลับที่ถูกแลกเปลี่ยนนั้น นักธุรกิจหนุ่มสามารถเข้าถึงได้โดยส่วนตัว

มีทำสัญญาส่วนตัวที่ทำให้เธอนั้นสามารถเข้าถึงความลับเหล่านั้นได้เพื่อหาวัตถุดิบในการสร้างสรรค์ผลงานของเธอ เธอเข้าถึงความลับหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวเล็กน้อยค่าพลังงานต่ำ ไปจนถึงเรื่องราวไร้ศีลธรรมที่อยู่ในเมืองที่ศีลธรรมสูงส่ง

ธุรกิจก็คือธุรกิจ ธุรกิจความลับที่ให้ใครก็ได้มาบอกเล่าความลับเพื่อแลกเปลี่ยนเป็นพลังงาน ถูกตลบหลังด้วยเจ้าของธุรกิจสามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้และนำข้อมูลให้เหล่านักสร้างสรรค์ได้เข้าถึงได้อย่างง่ายดาย เรื่องส่วนตัวที่อนุญาตด้วยการแลกเปลี่ยนถูกทำให้เป็นวัตถุดิบชั้นดีในงานของนักสร้างสรรค์

เรื่องราวที่มีสัญลักษณ์ซุกซ่อนอยู่มากมายที่ดูจะเข้ากับเหตุการณ์บ้านเมืองตอนนี้ อย่างบทสนทนาของตัวละครที่บอกว่า “ตัวฉันที่คุณสร้าง กับตัวฉันที่ฉันสร้างเลยไม่เหมือนกัน” ไม่ต่างอะไรกับการที่หลายคนผลักอีกฝ่ายไปอยู่อีกฝ่าย ที่เราเห็นบ่อยๆ ในคอมเมนต์เฟซบุ๊คการเมือง

ความรุนแรงที่แฝงอยู่ในบ้านเมืองที่อ้างว่าสงบ คน(สัตว์) ที่ถูกปืนจากผู้ที่อยู่เหนือกฏหมายยิง เราไม่ได้สามารถที่จะทำอะไรได้

ความลับมีค่าที่รัฐต้องการ จนต้องถูกกองทัพเข้ามาแทรกแซงธุรกิจ บอร์ดบริหารที่เป็นนอมินีของรัฐบีบให้นักธุรกิจออกจากตำแหน่ง การถูกข่มขู่จนต้องลี้ภัย ผลพวงที่เกิดขึ้นหลังจากรัฐที่สามารถเข้าถึงความลับได้ มองดูดีดีสุดท้ายประชาชนได้แต่มองตาปริบๆ โดยไม่สามารถทำอะไรได้

ความซ้ำซากในสังคม พ่อที่พูดความหลังเก่าเก็บ รัฐบาลที่ย้ำเสมอว่าทำทุกอย่างเพื่อประเทศชาติ คำพูดซ้ำซากที่สร้างขึ้นมาเพื่อปิดบังความอ่อนแอของตนในห้วงเวลาที่ไม่มีอะไรใหม่ สุดท้ายตัวละครกับปัญหาชีวิตอิงสังคมต้องตัดสินใจว่าเราจะยังคงอยู่กับความซ้ำซาก หรือเราควรจะก้าวไปสู่สิ่งที่ใหม่กว่าตามที่หวัง

ค่อนข้างประหลาดใจและผิดคาดเหลือเกินกับผู้เขียน นี่คือนวนิยายเล่มแรกที่เขียนขึ้นมาจากความอัดอั้น และประสบการณ์ของตน ซึ่งเราคิดว่าการตั้งชื่อว่ามี คงน่าจะพ้องกับตัวเธอ (me) ผนวกเข้ากับงานเขียนกลิ่นเดิมที่เราคุ้นตา การสาธยายอาหารที่หากคุ้นเคยกับผู้เขียนก็น่าจะนึกถึงเธอได้อย่างไม่ยาก รอคอยการบ่มของเธอ ที่จะกลายเป็นผลงานเล่มต่อไปในอนาคต

ป.ล. ชอบรายละเอียดเล็กๆ ที่ใส่เข้ามาขำอย่างพวก สิทธิสัตวชน อะไรประมาณนี้ ดูเป็นการใส่ที่ตลกดี

ป.ล. ตลกที่ในเรื่องมีรถไฟความเร็วสูงไปเชียงใหม่แล้ว เลยอนุมานว่านี่ต้องเป็นนิยายอนาคตหลายสิบปีอย่างแน่นอน

My best friend is me—พวงสร้อย อักษรสว่าง

12936731_920531731397476_2784542138871159079_n (1)

– พบว่าหนังสือมันชื่อว่า My best friend is me ปกติจะเรียกว่าหนังสือพวงสร้อยตลอดเลย

– พบว่านามสกุลอักษรสว่างปรากฏต่อสื่อใน mary is happy, mary is happy. เป็นนามสกุลของซูริ อักษรสว่าง

– พบว่าเอานามสกุลเธอมาใช้นั่นเอง

– พบว่าเธอรู้จักกับนวพล

– พบว่าคำโปรยอาจจะไม่ได้ช่วยให้เราเข้าถึงเรื่องเท่าไหร่ สิ่งที่บอกโทนของเล่มสำหรับเราคือคำนำกับคำนิยม ที่ทำให้เราเริ่มรู้ละว่าจะไปเจออะไร

– พบว่าที่เจอก็คือความเหงา

– พบว่ารู้สึกได้เลยว่าตัวหนังสือของเธอมีความเหงาเข้าเจือปนจริงๆ คืออ่านแล้วรู้สึกได้อารมณ์ของการแอบเข้าไปเปิดดูใครซักคนเขียนอะไรบนในเว็บdiaryis แล้วเจอคนที่ปิดไฟพิมพ์อะไรบนหน้าจอที่แยงตาอะไรแบบนั้น คือไม่ว่าจะพยายามใส่มุก มันก็กลายเป็นมุกที่เหมือนคนเหงาเล่นอ่ะ

– รู้ได้ไงว่าเหงา?

– คนเหงาย่อมเข้าใจคนเหงาเมื่อสายตาสั้นๆ ส่งมาทักทายกัน

– พบว่าในอีกด้านของความเหงามันมีความคิดบางอย่างที่ส่งออกมา การพูดถึงความฝันที่ความจริงแล้วมันไม่สามารถที่จะทำได้ตามใจปรารถนาได้เลย มันมีปัจจัยอีกมากมายที่จะคิด โดยเฉพาะเรื่องเงิน มันดูจริงดี

– มีบทหนึ่งที่พูดเรื่องของการเรียน กับ กิจกรรม เราพบว่าเราน่าจะเอาให้น้องอ่าน

– มีบทหนึ่งพูดถึงญาติที่อยู่ห่างไกล มุมมองของเธออย่างการที่ผู้ใหญ่ยังส่งไลน์สวัสดีตอนเช้า ก็ยังบ่งบอกได้บ้างว่าเขาไม่เจ็บป่วยอะไร ยังพอมีแรงที่จะส่งอะไรมาในกรุ๊ปไลน์ได้อยู่ มันเป็นเหมือนสัญลักษณ์ที่บ่งบอก โดยที่คนห่างไกลไม่ถามก็พอที่จะสบายใจได้

– พบว่าชอบมุมมองอะไรหลายอย่างเหมือนกัน

– ไม่แน่ใจว่าตั้งใจหรือเปล่า มันมีจังหวะของการไปเที่ยวค่ายกักกัน แล้วปูภาพมาประมาณ 4 หน้า ก่อนที่หน้าต่อไปจะใส่ข้อความลงไปสองบรรทัดในย่อหน้านั้น มันเหมือนการปูอารมณ์ก่อนจะยิงปัง ชอบๆ จังหวะนี้ ไม่รู้ว่าตั้งใจหรือเปล่า ขอชมฝ่ายกราฟิกแหละ

ล่าปีศาจ – สันต์ สิราวุธ

 

12705190_10153978841999181_5920690630142138584_n

  • ถ้านับปีที่พิมพ์รวมเล่มก็ 20 ปีไปแล้ว ยังไม่รวมถึงการตีพิมพ์เป็นตอนๆ ในมติชนสุดฯ ก่อนหน้านี้อีกหลายปี เนื้อเรื่องก็ยังอ่านได้ไม่โบราณเลย ที่พูดแบบนั้นเพราะนิยายแนวนี้มันก็ค่อนข้างอิงตามเทคโนโลยีอยู่พอสมควร ถ้าเทคโนโลยีเก่ากว่าที่อ่านก็จะรู้สึกว่าทำไมมึงไม่ใช้เครื่องนี้วะ เครื่องนั้นวะ ฯลฯ แต่เรื่องนี้ร่วมสมัยอยู่พอสมควร (ถึงแม้มาลองคิดจริงๆ ถ้าพระเอกมาอยู่สมัยนี้ที่มีกล้องวงจรปิด มึงโดนจับไปนานแล้ว)

 

  • เรื่องนี้อ่านเพลินมาก เจ็ดร้อยกว่าหน้าถูกพลิกไปอย่างรวดเร็ว สนุก ที่มันยังร่วมสมัยอยู่ก็เพราะการตัดต่อด้วยแหละ ที่เหมือนหนัง มีตัดย้อนกำเนิด มาปัจจุบัน ทั้งด้วยการแบ่งภาค และด้วยในตัวย่อหน้า แต่ก็มีติดๆ บ้างที่บางภาคก็ไม่จำเป็นต้องมีเท่าไหร่ ไม่มีก็ได้นะงี้

 

  • อ่านข้ามเนื้อเพลงที่พระเอกร้องตลอด มารู้สึกกับตัวเองว่าจะไม่ค่อยชอบอ่านเนื้อเพลงที่พระเอกในนิยายแต่ง ไม่รู้ทำไม เวลาเห็นจะอ่านข้ามตลอด

 

  • มีแอบเอื่อย ช่วยท้ายๆ แต่ยังดีที่ใกล้จะจบแล้ว ก็เลยรอดมากได้

 

  • หมดเรื่องนี้ไม่แน่ใจว่าคนเขียนมีเขียนเรื่องอะไรอีกหรือเปล่า เห็นว่าเป็นหมอ ก็เลยไม่รู้ว่าเขียนอะไรอีกมั้ย หรือเลิกเขียนไปเลย

wanderboy – ทีปกร วุฒิพิทยามงคล

12342807_10153811557609181_2323921015668246803_n
wanderboy – ทีปกร วุฒิพิทยามงคล
ผมอยากเขียนอะไรถึงเล่มนี้ นี่คือแบบที่สามที่ผมเขียน
จากก่อนหน้าที่เขียนแม่งเวิ้นจนเหมือนคำนำ
ลบทิ้ง
สรุป
สั้นๆ ง่ายๆ
เรารู้จักทีปกรจากงานวาด และเล่มนี้เรารออ่านงานเขียนขนาดยาวของเขา
งานเขียนที่ดูเหมือนจะอธิบายตัวตนของเขาได้ดีที่สุด
เล่มนี้ทำหน้าที่อธิบายตัวของเขาได้เป็นอย่างดี
มันเหมือนการเขียนอธิบายตัวตนของเขาได้ดีด้วยการออกไปเที่ยวครั้งนี้
เหมือนเราเพิ่งรู้จักกันผ่านตัวหนังสือครั้งแรก

งานทีปกรมองไปในตอนแรกเหมือนเกราะ
เกราะที่ผลงานถูกกำหนดด้วยตีมงาน
เราเลยไม่ค่อยได้รู้จักเขามากเท่าไหร่ นอกจากตีมของเขา
เล่มนี้ถ้าหากเป็นหอมหัวใหญ่ผ่าครึ่ง ที่เราเห็นเป็นชั้นๆ
หากตัวตนของเราเป็นชั้นๆ แบบนั้น
มันก็เหมือนการเผยตัวของเขาออกมาให้เราเห็น
ลอกออกมาอย่างช้าๆ
เหมือนการเดินทางระยะไกลที่ค่อยเป็นค่อยไป
ไม่ได้เห็นหมดจนเปลือย
แต่ทำให้เรารู้จักเขา
ซึ่งเออ สนุกดี
เหมือนเราเพิ่งรู้จักกันผ่านตัวหนังสือครั้งแรก

ซึ่งยินดีที่ได้รู้จักอีกครั้งครับ

The Martian — Andy Weir

12111958_10153740854339181_476424075765148740_n

The Martian — Andy Weir

อ่านแต่หนังสือนะ ยังไม่ได้ดูหนัง แต่พอจะนึกภาพออกว่าหนังมันจะเกื้อหนุนกันกับหนังสือยังไง

ถ้าเปรียบเวอร์ชั่นหนังสือ The Matian มันคือการเอาเนิร์ด (ซึ่งในที่นี่เป็นการบันทึกของมาร์ค วัตนีย์—คนที่ติดอยู่ในดาวอังคาร) มาเล่าบรรยายสภาพการอยู่รอดของตัวเอง มันจึงมีศัพท์แสงความละเอียดของข้อมูลที่จะอ่านผ่านให้ขยายอารมณ์ความยุ่งยากของการอยู่รอดด้วยหลักวิทยาศาสตร์ก็ได้ คือไม่ต้องมาเช็กรายละเอียดขนาดนั้น เช่น กูรู้ว่ามึงยุ่งยากมากในการหาน้ำไม่ได้และต้องเอาไฮโดเจน กับ อ๊อกซิเจนมารวมกันให้กลายเป็นน้ำ ซึ่งการอธิบายมันก็ช่วยให้เรามองเห็นภาพได้เข้าใจขึ้น

หรือจะอ่านเอารายละเอียดเป๊ะๆ ก็ได้แหละ เราว่าข้อดีของเรื่องนี้มันคือการใส่รายละเอียดที่แน่นมาก แต่ไม่ดูเวอร์ มันทำให้เราเชื่อว่าเขาติดอยู่ในดาวอังคารจริง และ ถ้าเราติดอยู่ที่นั่น ก็คิดว่าเราคงอยู่ได้จริงด้วยข้อมูลพวกนี้ (มั้งนะ)

สิ่งหนึ่งที่เรื่องนี้มันสนุกก็คือ อารมณ์ของตัวละคนที่มันมีความกวนตีนและอารมณ์ดีพอสมควร (และมึงฉลาดแหละที่อยู่ได้ขนาดนั้น) ไอ้ทรรศนคติที่ตลกของมันก็ทำให้เราไม่ได้เครียดมาก อย่างบางช่วงที่เราเห็นลางๆ ว่ามึงจะฉิบหายแน่ๆ แต่ตัวละครไม่ได้เครียดมากขนาดนั้น อันนี้ก็ช่วยทำให้เราผ่อนคลายขึ้นนะ

สำหรับเรา ที่อ่านแบบไม่ได้มาวิเคราะห์ตามว่าจะไปแยกอ๊อกซิเจนได้เท่าไหร่ ดูดคาร์บอนไดออกขนาดไหนนั้น มันก็มีช่วงท้ายๆ ที่มาร์ค วัตนีย์เตรียมตัวจะไป ซึ่งเรานึกภาพไม่ออกว่า มึงจะปรับรถยังไงวะ ปรับยานยังไง ทำยังไงกับรถสำรวจ การดูรายละเอียดแบบผิวเผินของเราก็น่าจะต้องดูหนังเพื่อขยายจินตนาการแหละ

ป.ล. น่าแปลกใจในเรื่องการใส่ข้อมูลอยู่อย่างนะ คือบางจุดมันใส่ข้อมูลรายละเอียดแบบชัดเจนมา แต่มันอ่านง่าย ไม่ดูยัดข้อมูลไป ซึ่งแอบไปนึกถึงงานของวินทร์ เลียววาริณที่ยัดข้อมูล มันกลับต่างกันเหมือนกับยกตำราเรียนมาให้อ่านเลย ซึ่งดูแข็งและน่าเบื่อมาก น่าจะอยู่ที่วิธีการเล่ามั้งนะ

ป.ล.2 กูไปแขวะเขาทำไม

Live from planet earth – แพท บุญสินสุข

11227920_10153787255514181_156335003007259769_o

Live from planet earth – แพท บุญสินสุข

หนังสือท่องเที่ยวมันมีคอนเซปต์หลากแบบ เช่นเดียวกับเล่มนี้มีคอนเซปต์คือการไปดูคอนเสิร์ต ซูมเข้ามาอีกนิดนึงคือการไปดูคอนเสิร์ตโดยเฉพาะวง Muse จากหลากสถานที่ หลายประเทศ เลยกลายเป็นเล่มนี้

เรื่อยๆ มันคือการเล่าประสบการณ์ไปดูคอนเสิร์ตหลายประเทศที่มีจุดร่วมคือ muse ไปเกาหลี เยอรมัน สวิส ออสเตรเลียเพื่อดู U2 และ Bon Jovi พ่วงด้วย หรืองาน Fuji Rock เทศกาลดนตรีในปีล่าสุดที่มีศิลปินอื่นๆ เข้ามาให้พูดถึงด้วย

จะดีมากๆ ถ้าพอจะรู้จัก muse และวงต่างๆ ในสาแหรก NME พอได้ยินชื่อวง พอได้ยินเพลงบ้างนิดนึง ไม่ลึกมาก ก็จะสนุกขึ้น

Blink – Malcolm Gladwell

blink

Blink – Malcolm Gladwell

หลังๆ ชอบอ่านงานของลุงคนนี้ คือมันเหมือนจะเป็นฮาวทูพัฒนาจิตใจ ประสบความสำเร็จร่ำรวยอะไรเทือกนั้น แต่ไม่ใช่ เพราะมันเหมือนจะเป็นฮาวทูที่อิงกับวิทยาศาสตร์มากๆ ยกตัวอย่างเรื่องราวต่างๆ ที่อิงกับเรื่องที่เขาจะนำเสนอ เราไม่ได้อยากพัฒนาตัวเอง แต่เราชอบเรื่องที่เขาเอามาเขียนมากกว่า

เล่มนี้ว่าด้วยเรื่องของแว้บแรกของเรา เหมือนสัญชาตญาณที่มองเห็นแล้วตัดสินได้เลยทันที เขาจึงยกเรื่องราวของการมองแว้บแรกที่มองแล้วแม่นยำกว่าการวิเคราะห์มากๆ ยกตัวอย่างพิพิธภัณฑ์ที่วิเคราะห์รูปปั้นโบราณ ที่วิเคราะห์ทุกอย่าง ศึกษารอยบาก ก้อนหินที่เอามาแกะสลักวิเคราะห์ที่มาจนมั่นใจว่ารูปปั้นนี้เป็นของแท้แน่นอน แต่เมื่อให้ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะมาดูแว้บแรกก็มีอะไรที่จุกอกให้ได้ตัดสินว่ามันของปลอมว่ะ นั่นแหละแว้บแรกที่เล่มนี้เสนอ

แต่มันไม่ได้บอกว่าความคิดแว้บแรกมันเป็นปาฏิหาริย์อะไรนะ ข้อดีของเขาอย่างที่บอกว่ามันพยายามหาคำตอบแบบวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ได้ว่าทำไมเขาสามารถทำได้แบบนั้น อย่างเรื่องของคนที่วิเคราะห์อารมณ์จากการขยับของกล้ามเนื้อใบหน้า ซึ่งเขาวิเคราะห์เป็นงานวิชาการเลย แต่มันไม่ได้ขยับจนเราเห็นได้ชัดนะ เพราะบางอารมณ์ขยับกล้ามเนื้อบางส่วนเร็วในหลักมิลลิวินาที คือเร็วมาก แต่มันขยับ ซึ่งหน้าสนใจตรงที่ว่าความคิดของเราจะคิดว่า เมื่อเกิดอารมณ์ต่าง สมองจะสั่งการใบหน้าให้ขยับรับอารมณ์ เช่น โกรธ ยิ้ม แต่จริงๆ แล้วเป็นไปได้ว่าการขยับของใบหน้าอาจจะแยกเป็นเอกเทศเลย ซึ่งมันจึงสามารถวิเคราะห์คนจากการขยับกล้ามเนื้อว่าเกิดอารมณ์แบบไหนได้อย่างแม่นยำ

หรือการลดทอนความคิดที่ปัดทิ้งข้อมูลรกๆ วิเคราะห์แค่ส่วนสำคัญ เช่นโรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยเยอะจนเตียงไม่เพียงพอ ซึ่งบางส่วนมารักษาด้วยอาการโรคหัวใจ มันเป็นโรคที่เราก็ไม่ทราบแน่ชัดว่ามันจะวายตอนไหน ได้แต่วิเคราะห์พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนป่วย ตรวจคลื่นหัวใจ ตรวจผลเลือด ปอด แต่จริงๆ แล้วเราสามารถตรวจแค่ไม่กี่อย่างลดทอนการตรวจก็สามารถวิเคราะห์ได้แล้ว ข้อมูลที่เยอะมันจะรั้งให้คุณกังวลเกินไป เขาก็ทดลองมาหลายปีกว่าจะยืนยันว่าการวิเคราะห์แบบนี้มันสามารถทำได้

เล่มนี้มันสั้นๆ อ่านได้เรื่อยๆ ก็เพลินดี แต่มันก็ไม่ได้สนุกมากทึ่งมากมาย แต่มันก็ยังอยู่ในมาตรฐานการเขียนที่ดีของลุงเขา ชอบการตัดสลับเรื่องราวเหมือนดูสารคดีเจ๋ง ข้อมูลแน่นๆเลย